วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

แบบทดสอบเรื่องการสร้างคำ (คำมูล ซ้อน ซ้ำ ประสมและสมาส)

แบบทดสอบเรื่องการสร้างคำ (คำมูล ซ้อน ซ้ำ ประสมและสมาส)
1. คำประพันธ์ต่อไปนี้ใช้คำประเภทใดมากที่สุด
มีแต่ความกระเสือกกระสนทุรนทุราย ฟูมฟายอยู่ในความไหม้หม่น
มีแต่ความแคบคับที่อับจน ทางหนที่กระดิกกระเดี้ยตัว
ก. คำสมาส ข. คำประสม
ค. คำซ้ำ ง. คำซ้อน
2. คำที่ใดที่ขีดเส้นใต้ข้อใดต้องใช้เป็นคำซ้ำเสมอ
ก. เธอร้องกรี๊ดๆ ลั่นห้อง ข. ค่อย ๆ พูดก็ได้อย่าเพิ่งใจร้อน
ค. เธอเผลอแลบลิ้นแผล็บๆ เมื่อพูดผิด ง. ฝนตกหยิม ๆ ในขณะที่ฉันเดินมาโรงเรียน
3. ข้อความต่อไปนี้มีคำซ้อน ซึ่งสามารถสลับที่ได้โดยที่ความหมายไม่เปลี่ยนกี่คำ
อย่างหน่วงหนักชักช้ารังคลาไคล รีบไปให้ทันท่วงที
ก. 1 คำ ข. 2 คำ ค. 3 คำ ง. 4 คำ
4. ข้อใดมีใช่คำประสม
ก. ต้มเค็ม ข. ต้มข่า ค. ต้มไข่ ง. ต้มส้ม
5. คำซ้ำในข้อใดไม่มีความหมายเป็นพหูพจน์
ก. น้องๆ ของเขารักใคร่กันดี ข. เขาป่วยต้องนอนพักรักษาเป็นเดือนๆ
ค. ตอนเด็กๆฉันเคยไปอยู่ต่างจังหวัด ง. สาวๆสมัยนี้รูปร่างอ้อนแอ้นกั้นทั้งนั้น
6. ข้อความต่อไปนี้มีคำซ้อนกี่คำ
ข้าวเป็นธัญญาหารที่มีประโยชน์อยู่ทุกอณูของเมล็ดข้าว เนื้อข้าว รำข้าว และจมูกข้าว เราจึงควรกินข้าวให้ครบทุกส่วนของเมล็ด เพื่อชีวิตที่แข็งแรงสดใส ห่างไกลจากโรคร้ายต่างๆ และมีสุขภาพดีอายุยืนยาว
ก. 3 คำ ข. 4 คำ ค. 5 คำ ง. 6คำ
7. คำที่ขีดเส้นใต้ในข้อใดใช้เครื่องหมายไม้ยมกไม่ได้
ก. มีอะไรก็กินกินไปเถอะ ข. โปรดนั่งตามที่ที่จัดไว้
ค. ขนมนี้ออกเค็มเค็มฉันไม่ชอบ ง. แม่ทำอาหารอร่อยอร่อยไว้ให้กินเสียก่อนสิ
8. ข้อใดมีคำประสม ปนอยู่
ก. ตัดสิน พัดวี ข่มเหง ข. รู้จัก คอยทำ อบรม
ค. งูเงี้ยว บากบั่น กลิ่นอาย ง. ขาดเหลือ บ่อเกิด เสื่อสาด
9.ข้อใดมีคำซ้อนที่สร้างจากคำไทยและคำเขมรทุกคำ
ก. ด่าทอ แมกไม้ เผาผลาญ ข. พงไพร เลือกสรร แบบแผน
ค. เมิลมอง เสนียดจัญไร ภูเขา ง. ทรวงอก ละเอียด ฝุ่นผง
10. คำซ้อนในข้อใดมีลักษณะต่างจากข้ออื่น
ก. นรชน ข. คชสาร ค. อิทธิฤทธิ์ ง. เหตุการณ์
11. คำประสมในข้อใดประสมจากคำไทยแท้ทุกคำ
ก. เดินโพย หมูตุ๋น เก้าอี้โยก ข. ตู้เชฟ เท้าแชร์ พวงหรีด
ค. ยานอวกาศ มนุษย์กบ แก๊สน้าตา ง. หน้าม้า หมกเห็ด หุ่นเชิด
12. ข้อใดเป็นคำประสมที่เลียนแบบคำสมาสทุกคำ
ก. เทพเจ้า สมมุติเทพ สุริยเทพ ข. ทุนทรัพย์ เมรุมาศ ผลไม้
ค. พลเรือน ราชวัง ราชครู ง. สรรพสิ่ง สรรพสัตว์ สรรพสินค้า
13. คำซ้อนในข้อใด สลับที่กันแล้วความหมายเปลี่ยนทั้งสองคำ
ก.แหลกเหลว แน่นหนา ข. เศร้าโศก สร้อยเศร้า
ค.เหือดแห้ง ร่อนเร่ ง. แผ่เผื่อ เปื้อนเปรอะ
14. คำซ้อนในข้อใด สลับที่กันแล้วความหมายเปลี่ยนทุกคำ
ก. แคล่วคล่อง คลางแคลง ข. เกลื่อนกลาด แน่แน่ว
ค. ยกเลิก ร้องเรียก ง. รุ่มร้อน เลิกล้ม
15. “เวลาที่ท่านตั้งใจทำงาน บุคลิกของท่านก็เหมือนนักบวชกำลังสาธยายมนต์ สง่างามเหมือนนักรบที่ต่อสู่กับข้าศึกเหมือนแพทย์ที่กำลังช่วยชีวิตคนไข้ เหมือนตำรวจกำลังรักษาราษฎรมิให้ถูกโจรทำร้าย”
ข้อความนี้มีคำประสมกี่คำและคำซ้อนกี่คำ
ก. คำประสม 3 คำ, คำซ้อน 3 คำ ข. คำประสม 4 คำ , คำซ้อน 4 คำ
ค. คำประสม 5 คำ, คำซ้อน 4 คำ ง. คำประสม 7 คำ , คำซ้อน 3 คำ
16. ท่านผู้เฒ่ามีจุดยืนไปทางความคิดฝ่ายเต๋า อย่างเดียวกับซุยเป๋งเพื่อนของขงเบ้ง ซึ่งเป็นคนกล่าวย้ำกับ เล่าปี่ว่า “ธรรมดาสรรพสิ่งในใต้ฟ้า เมื่อแยกกันนาน ๆ กลับรวมกัน เมื่อรวมกันนาน ๆ ก็แยกอีก” เพื่อให้เล่าปี่รู้จักปล่อยว่าง
ข้อความข้างต้นมีคำประสมกี่คำ คำซ้อนกี่คำ
ก. คำประสม 2 คำ ,คำซ้อน 2 คำ ข. คำประสม 3 คำ ,คำซ้อน 3 คำ
ค. คำประสม 4 คำ ,คาซ้อน 2 คำ ค. คำประสม 3 คำ ,คำซ้อน 2 คำ
17. ข้อใดมีคำประสมและคำซ้อน
ก. อัดแกนนำพันธมิตรมีเจตนาไม่บริสุทธ์ ข. เอกยุทธจี้หมักตัดสินใจ
ค. อินทรีเหล็กคึกคักหมั่นใจดับซ่าไก่งวง ง. พานิชย์จับตา 200 การคุมราคาสินค้า
18. ข้อใดมีวิธีการสร้างคำมากที่สุด
ก. สถานการณ์ขาดแคลนพลังงานกำลังเป็นปัญหาคุกคามโลกยุคโลกกาภิวัตน์
ข. อีกสิบปีข้างหน้าโลกต้องเผชิญกับปัญหาขาดแคลนอาหาร
ค. อีกทั้งสภาวะโลกร้อนอาจทำให้น้ำท่วมโลก
ง. ความยุ่งเหยิงโกลาหลรอคอยอยู่ข้างหน้า
19. คำประสมในข้อใด มีโครงสร้างเหมือนคำว่า “เครื่องปั่นไฟ” ทุกคำ
ก. จักรเย็บผ้า , ผ้ากันเปื้อน ข. ผ้าปูโต๊ะ , ผ้าเช็ดหน้า
ค. หม้อไฟฟ้า , โรงจอดรถ ง. ไม้ตีกอล์ฟ , เข็มขัดนิรภัย
20. คำในข้อใดมีคำที่ไม่ใช่ คำซ้อนปนอยู่
ก. ธงทิว, สร้างสรรค์, เรือนหอ ข. เสือสาง, รังสฤษฎ์, ถุงไถ้
ค. ปกครอง, ผมเผ้า, บกพร่อง ง. ถักทอ, หอคอย, ห้องหับ
21. ข้อใดไม่มีคำซ้อน
ก. หน้าตาของสลวยดูสดใสขึ้นเมื่อทราบข่าวคนรักของเธอ
ข. สารินไม่รู้จักมักคุ้นกับอัศนีย์แต่เขาก็มาชวนเธอทำงาน
ค. รจนาหน้าตกอยู่ในวังวนของความทุกข์ที่ดูจะหาทางออกไม่ได้
ง. กนกเรขาไม่เดือดร้อนที่คนเข้าใจผิดเรื่อง
22. คำซ้ำในข้อใดมีความหมายต่างจากข้ออื่น
ก. เรากำลังฟังเพลิน เธอก็หยุดเล่าเสียเฉย ๆ
ข. คนช่วยงานเยอะแล้วเรานั่งเฉย ๆ ดีกว่า
ค. นักเรียนมักกลัวครูที่ทำหน้าเฉย ๆ
ง. ไหนเธอว่าเขาเป็นคนเฉย ๆ ไง
23. คำซ้อนในข้อใดประกอบด้วยคำไทยกับคำเขมรทุกคำ
ก.ปรับปรุง แลกเปลี่ยน ล้างผลาญ ข. คุ้มกัน ละเอียดลออ ด่าทอ
ค. กล้าหาญ บั่นทอน เพื่อนเกลอ ง. โง่เขลา เงียบสงัด ฝุ่นละออง
24. ข้อความต่อไปนี้มีคำซ้อนกี่คำ
“ธรรมชาติสรรค์สร้างสิ่งดีๆ ให้มวลมนุษย์ แต่มนุษย์เป็นผู้ทำร้ายจนโลกเปลี่ยนแปลง จึงต้องตักเตือนกันให้นำโลกเข้าสู่สภาพเดิมเร็วไว”
ก. 2 คำ ข. 3 คำ ค. 4 คำ ง. 5 คำ
25. คำประสมทุกคำในข้อใดมีส่วนประกอบเหมือนคำว่า“คนพิมพ์ดีด”
ก.เครื่องตัดหญ้า รถลอยฟ้า ข. คนเก็บขยะ นักการเมือง
ค. หัวก้าวหน้า ผู้ใจบุญ ง. ห้องนั่งเล่น ผ้ากันเปื้อน
26. ข้อใดมีคำซ้ำที่ใช้เป็นคำเดี่ยวไม่ได้
ก. กำลังเดิน ๆ อยู่ฝนก็ตก ข. เรื่องนี้เกิดขึ้นจริง ๆ เชื่อเถอะ
ค. นักมวยฝ่ายแดงกำลังงง ๆ เมื่อถูกจับแพ้ ง. เปิดพัดลมเบา ๆ เดี่ยวจะเป็นหวัด
27. การใช้คำซ้ำในข้อใดต่างจากข้ออื่น
ก. น้ำพระทัยเธอข่อน ๆ คิดไม่ขาด ข. น้ำพระชนนัยน์ไหลลงหลั่ง ๆ
ค. พุ่มไม้ครึ้มเป็นเงา ๆ ชะโงกเงื้อม ง. ฝูงสกุณาออกหากินบินเกริ่นก้องร้องอยู่แจ้ว ๆ
28. ข้อใดเป็นคำซ้อนทุกคำ
ก. กล้ำกลืน เคยตัว ติดตาม ข. อวดอ้าง หมายมาด เคลื่อนคล้อย
ค. พรั่งพร้อม หง่างเหง่ง วังเวง ง. ร่อยหรอ โศกศัลย์ ตกยาก
29. ข้อใดเป็นคำซ้อนทุกคำ
ก. เหตุการณ์ มิตรสหาย โกรธเคือง พบพาน ข. เงียบสงัด เรืองรอง ขมีขมัน ห้องหอ
ค. สูญเสีย พักผ่อน สัตว์ซื่อ วิธีการ ง. ปล่อยวาง ลำน้ำ เผ่นโผน นับถือ
30. ข้อใดเป็นคำประสมทุกคำ
ก. ของขลัง ชุมนุม เรือด่วน สามขุม ข. เรียงเบอร์ ข้าวสวย มูมมาม เหล็กดัด
ค. มือถือ เครื่องบิน ต้มเค็ม รูปภาพ ง. แม่พิมพ์ เครื่องคิดเลข แกงไก่ ขายหน้า

8 ความคิดเห็น: