วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ติวสอบ O-NET&A-NET

การจับใจความสำคัญ
1. การอ่านฟังทั้งเขียนและการพูด ย่อมเป็นบทพิสูจน์อย่ามองผ่าน
เป็นกลไกประจำวันอันยืนนาน ผู้ใช้การได้ดีย่อมมีชัย
คำประพันธ์บทนี้สื่อสารตรงประเด็นใดที่สุด
1. การใช้ภาษาอย่ามีประสิทธิภาพย่อมให้ประสิทธิผลแก่ผู้ใช้
2. การสื่อสารทุกประเภทมีความจำเป็นต่อทุกอาชีพและทุกวงการ
3. การสื่อสารที่เป็นประโยชน์ย่อมมีทั้งฝ่ายส่งและฝ่ายรับ
4. ทักษะการใช้ภาษาสำคัญต่อการำเนินชีวิตเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้เป็น
2. สาระสำคัญ ของคำประพันธ์นี้คืออะไร
ฟังการอะไรให้ชัดถนัดหู ฟังให้รู้ฟังให้เห็นเฟ้นความหมาย
ฟังให้ถูกฟังก่อนตอบโดยหยาบคาย ฟังด้วยกายใจถึงกันนั้นฟังดี
ฟังอะไรใคร่ควรคิดด้วยจิตว่าง ฟังทุกอย่างฟังทุกคนจนถ้วนถี่
ฟังแล้วท้วงติชมเพื่อเกื้อวจี ฟังเช่นนี้ล้วนเลอเลิศเกิดปัญญา
1. การฟังมีหลายรูปแบบ 2. การฟังทำให้เกิดปัญญา
3. วิธีฟ้งที่เป็นประโยชน์ 4. การใช้ความคิดในขณะที่ฟัง
3. “หมอแพทย์ว่าป่วยไข้ ลมคุม
โหรว่าเคราะห์แรงรุม โทษให้
แม่มดว่าผีกุม ทำโทษ
ปราชญ์ว่ากรรมเองไซร้ ก่อสร้างมาเอง
สารัตถะสำคัญของโครงบทนี้คืออะไร
1. ต่างคนย่อมต่างความคิด 2. แต่ละคนมีความคิดเป็นอิสระ
3. เรื่องเดียวกันอาจมีความเห็นต่างกัน 4. การแสดงทัศนะย่อมสัมพันธ์กับความถนัด
4. ข้อใดเป็นใจความหลักของข้อความต่อไปนี้
ในส่วนภาคกลางของประเทศไทยการขนส่งทางน้ำเป็นวิธีการขนส่งหลัก การขนส่งทางบกมีไว้สนับสนุนเท่านั้น แต่หลังจากมีการสร้างรถไฟและถนนแล้ว การขนส่งทางบกก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน
1. การขนส่งทางบกมีบทบาทมากในชีวิตปัจจุบัน
2. การขนส่งทางบกและทางน้ำมีมานานแล้ว
3. การขนส่งทางบกช่วยให้การขนส่งทางน้ำสะดวกขึ้น
4. การขนส่งทางน้ำช่วยให้การขนส่งทางบกสะดวกขึ้น


5. ข้อสรุปของข้อความต่อไปนี้ตรงกับข้อใด
ฉันบอกนก เธอบอกไม้ ฉันเลือกซ้าย เธอเลือกขวา ดีกว่าไหม
ฉันบอกร้อน เธอบอกหนาว ฉันตื่นสาย เธอให้ตื่นเช้าๆ
1. ต่างเพสต่างใจ 2. ต่างคนต่างจิต 3. ต่างวัยต่างความคิด 4. ต่างพวกต่างพฤติกรรม
6. ข้อใดเป็นใจความสำคัญของข้อความต่อไปนี้
อาหารญี่ปุ่นที่เด่นๆคือปลาที่มีโปรตีนที่ดีกว่าเนื้อสัตว์ชนิดอื่นเพราะมีโอเมก้า 3 ซึ่งช่วยลดอัดตราเสี่ยงต่อโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด และยังมีวิตามิน เกลือแร่มาก อีกทั้งอาหารญี่ปุ่นมักใช้สาหร่ายเป็นสารประกอบหลักที่มีโปรตีน ไอโอดีน และใยอาหารสูง จึงช่วยย่อยระบบขับถ่าย
1. อาหารญี่ปุ่นมีคุณค่าทางโภชการสูง 2. อาหารญี่ปุ่นให้โปรตีนสูงกว่าอาหารชาติอื่นๆ
3. อาหารญี่ปุ่นช่วยรักษาโรคต่างๆได้ 4. อาหารญี่ปุ่นช่วยควบคุมน้ำหนักได้
7. ตามรายงานต่อไปนี้ข้อใดไม่ใช่สาเหตุโดยตรงของโรคอ้วน
ผลสำรวจล่าสุดพบว่าหนึ่งในสี่ของเด็กวัยรุ่นชายในเมืองใหญ่ได้กลายสภาพเป็นเด็กอ้วนไปแล้ว อันผลมาจากความนิยมตะวันตกและการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทำให้ประชาชนอยู่ดีกินดีขึ้น เด็กต้องคร่ำเครงกับกับการเรียนจนไม่มีเวลา ได้ออกกำลังกาย
นโยบายจำกัดให้แต่ละครอบครัวมีบุตรได้เพียงคนเดียวของทางการจีนก็เป็น อีกปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อโรคอ้วนในเด็กชาย เพราะลูกชายโทนจะได้รับการปรนเปรอเยื่อง“จักรพรรดิน้อย”
1. เด็กคร่ำเคร่งเรียนหนังสือมากเกินไป 2. เด็กไม่ได้ออกกำลังกายเพียงพอ
3. เด็กอยู่ดีกินดีมากเกินไป 4. เด็กนิยมกินอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์
8. ตามสาระของข้อความต่อไปนี้ ข้อใดกล่าวผิด
การเรียบเรียงลำดับข้อความผิดที่ที่ในประโยคเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ทำให้อ่านยาก และกำกวม จะเห็นกันอยู่เสนอถ้าผู้เขียนหรือพิสูจน์อักษรอ่านทบทวนและจดลำดับ เสียใหม่ก่อนปล่อยผ่านออกไปก็ช่วยการอ่านราบรื่นไม่สะดุด
1. ความกำกวมของข้อความเกิดจากการเรียงลำดับความผิดตำแหน่ง
2. ผู้เขียนสามารถขจัดความกำกวมของผู้เขียนได้ด้วยตนเอง
3. การตรวจทานเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้มีการเรียงลำดับความได้
4. ความบกพร่องด้านการเรียงลำดับข้อความเกิดขึ้นเป็นประจำจนแก้ไขไม่ได้




ใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 9-10
“รัฐบาลได้พยายามประคับประคองภาวะเศรษฐกิจและค่าครองชีพให้ทรงตัวได้ดีพอสมควรแม้ว่าภาวะฝนแล้งตลอดปีและอุทกภัยที่สร้างความเดือดร้อนอย่างแสนสาหัสแก่ประสาชนเกือบทั้งประเทศรัฐบาลได้รับมาตรการต่างๆ มาใช้บรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องผ่านวิกกฤตไปได้ รัฐบาลจึงรู้สึกโล่งใจเป็นอันมากที่สามารถลดภาวะอันหนักอึ้งลงไปได้”
9. ข้อใดคือเจตนาสำคัญของผู้พูด
1. ชี้ให้เห็นความสามารถของรัฐบาล 2. ชี้ให้เห็นภาระอันหนักของรัฐบาล
3. ชี้ให้เห็นวิกฤตการณ์ที่ไทยได้เผชิญ 4. ชี้ให้เห็นความเดือดร้อนแสนสาหัสของประชาชน
10. ผู้พูดใช้ภาษาลักษณะใด
1. ใช้คำที่เร้าอารมณ์ 2. กล่าวในเชิงเยินยอ
3. กล่าวในเชิงรำพึงรำพัน 4.ใช้คำง่ายตรงไปตรงมา
อ่านคำถามต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ 11-12
“ผู้หญิงวันนี้นอกจากจะต้องเลี้ยงดูลูก ดูแลบ้านช่อง เข้าครัวอาหารให้ทุกคนรับประทานแล้ว ยังต้องทำงานนอกบ้านหนักเท่าเทียมกับผู้ชายอีกด้วย”
11. ข้อใดเป็นสาระสำคัญของข้อความข้างต้น
1. ในโลกยุคใหม่หญิงไม่เท่าเทียมชายอย่างแท้จริง
2. เกิดเป็นเพศแม่ต้องดูแลทั้งงานในบ้านและนอกบ้าน
3. สตรีสมัยใหม่ไม่บกพร่องทั้งงานในบ้านและนอกบ้าน
4. เกิดเป็นสตรีแท้จริงแสนลำบาก ต้องทุกข์ยากกว่าชายเป็นหลายเท่า
12. ข้อใดเป็นน้ำเสียงของผู้เขียนข้อความข้างต้น
1. เห็นใจผู้หญิงในปัจจุบันที่ต้องรับภาระหนัก
2. ค่อนข้างพอใจผู้หญิงในปัจจุบันที่ต้องรับภาระหนัก
3. ภูมิใจที่เป็นหญิงสามารถทำงานหนักได้เท่าเทียมกับผู้ชาย
4. ไม่พอใจผู้หญิงต้องทำงานหนักได้เท่าเทียมกับผู้ชาย
13. ข้อความที่ขีดเส้นใต้มีความหมายตรงกับข้อใด
“การเป็นพระกระทวนกระแสเลยทีเดียว คนทั่วไปในโลกมักตกอยู่ในกระแสที่ท่านเรียกว่ากามคือ
ความหลงระเริงเพลิดเพลินติดใจอยู่ในรูป รส กลิ่น สียงสัมผัสและสิ่งที่ทำให้ชื่นชมสบายใจ ถูกใจ”
1 . การไม่ปฏิบัติตามความนิยมของสังคม
2 . การไม่ปฏิบัติตามความอยากและความต้องการของคน
3 . การปฏิบัติในสิ่งที่ต้องการทางสังคม
4. การปฏิบัติเพื่อเป็นแบบอย่างให้คนทั่วไปทำในสิ่งที่ถูกต้อง
14. ข้อใดเป็นจุดมุ่งหมายของผู้เขียนข้อความต่อไปนี้
“เรื่องของการอนุรักษ์นี้อิตาลีเขาถนัดมาก มีเจ้าหน้าที่ที่เชียวชาญและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพจริงๆดังนั้นเมืองประวัติศาสตร์ของเขาซึ่งอยู่หลายเมือง จึงล้วนแต่หน้าไปเที่ยวชมทั้งสิ้น ไม่เหมือนกับบ้านเรา ถึงมีผู้รู้อยากอนุรักษ์ก็ทำไม่ได้ก็เป็นไปอย่างทุลักทุเลเต็มประดา ของเก่าใหม่ปนเปกันไปหมด”
1. ชื่นชมการอนุรักษ์เมืองประวัติศาสตร์ที่อิตาลี
2. ตำหนิการไม่อนุรักษ์เมืองประวัติศาสตร์ของไทย
3. กระตุ้นให้คนไทยรู้จักการอนุรักษ์เมืองประวัติศาสตร์อย่างถูกต้อง
4. เสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเมืองประวัติศาสตร์ในอิตาลี
15. ข้อใดเป็นสาระสำคัญต่อไปนี้
1. สติปัญญาเป็นสิ่งสำคัญในการเรียนภาษา
2. คนเราไม่มีสติปัญญาเลยหากไม่เรียนภาษา
3. คนเราต้องพูดได้ก่อนจึงจะพัฒนาสติปัญญาของตนเองได้
4. การเพิ่มพูนความรู้ทางภาษาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์
ใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบถามข้อ 16-17
“ปัจจุบันภาษาไทยเราซบเซาไปมาก อันเนื่องมาจากแต่ความเห่อของฝรั่ง ความจริงการเรียนรู้ภาษาฝรั่งเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะว่าเราต้องติดต่อกับฝรั่ง และตำรับตำราวิชาการต่างๆ ก็เป็นภาษาฝรั่ง แต่การเรียนควรเป็นการเพิ่มพูนความรู้ มิใช่เรียนเพื่อมาละ เลิก หรือลืมภาษาไทย คำฝรั่งคำใดที่มีความหมายตรงกับภาษาไทย เราก็ควรแปลงมาเป็นคำไทย คำใดไม่มีในภาษาไทย อย่างเช่นศัพท์วิชาการต่างๆ จะใช้ทับศัพท์ก็สมควร”
16. ข้อใดเป็นสาระสำคัญของข้อความเบื้องต้น (มี.ค.46)
1. คนไทยควรใช้ภาษาไทยมากกว่าฝรั่ง
2. คนไทยควรเรียนรู้ภาษาฝรั่งเท่าที่จำเป็น
3. คนไทยควรรับภาษาฝรั่งมาใช้อย่างเหมาะสม
4. คนไทยไม่ควรใช้แต่ภาษาฝรั่งจน ไม่เห็นความสำคัญของภาษาไทย
17. ข้อใดไม่ปรากฏในข้อความขางต้น (มี.ค.46)
1. การเสนอประเดนปัญหา 2. การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
3. กาแสดงผลของปัญหา 4 การเสนอแนวทางในการแก้ปัญหา
ใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบคำถาม 18 – 19
“ถึงแม้ว่าคนไทยจะหนีความทุกข์ไม่พ้น เราก็ไม่ควรมีชีวิตอยู่อย่างสิ้นหวัง การดิ้นรนต่อสู้และเอาชนะความล้มเหลวทำให้มนุษย์มีคุณค่าขึ้น ผู้ที่ไม่ต่อสู้และดิ้นรนเพราะว่าไม่เห็นความสำคัญอยู่ข้างหน้า และทำตัวเหมือน กรวดทรายที่ไหลไปตามกระแสน้ำนั้นเป็นผู้ที่ทำตัวไม่สมควรที่เกิดมาเป็นมนุษย์”

18. ข้อใดเป็นสารสาระของข้อความข้างต้น (มี.ค.44)
1. การต่อสู้ดิ้นรนเป็นธรรมชาติของมนุษย์
2. ชีวิตมนุษย์ย่อมมีทั้งทุกข์ สุข สมหวัง และสิ้นหวัง
3. คุณค่าของมนุษย์อยู่ที่การต่อสู้เพื่อเอาชนะอุปสรรค
4. ความล้มเหลวช่วยให้มนุษย์ประสบความสำเร็จในชีวิต
19. ข้อความข้างต้นใช้วิธีโน้มน้าวใจตามข้อใด (มี.ค.44)
1. ใช้โวหารเปรียบเทียบเพื่อเราอารมณ์
2. ใช้โวหารอธิบายและอ้างเหตุผลอย่างเหมาะสม
3. ใช้การกล่าวซ้ำและความขัดแย้งกันมาอ้างเหตุผล
4. ใช้อ้างหลักความจริงเพื่อชักชวนให้คล้อยตาม
20. ข้อใดเป็นสาระสำคัญของข้อความนี้
“อัลชชีเหล่านี้มีชีวิตเหมือนปูเสฉวน คืออาศัยเครื่องนุ่งห่มของคนอื่นมาบังหน้าเพื่อสร้างสถานภาพใหม่และความชอบธรรมให้ตนเอง หลอกบริโภคลาภสักการะจากศรัทธาปสาทะของอุบาสกอุบาสิกา”
1. คนที่หลอกลวงผู้อื่นด้วยสิ่งปกปิดร่างกายภายนอก
2. คนหลอกลวงโดยอาศัยความเลื่อมใสของผู้อื่น
3. คนทำตัวเหมือนราชสีห์ที่ห่มคลุมด้วยหนังแกะ
4. คนที่ทำตัวหน้านับถือโดยที่อาศัยเสื้อผ้าของผู้อื่น
21. ข้อใดเป็นเจตนาของผู้เขียนข้อความข้างต้นต่อไปนี้ (ต.ค.45)
“ การอยู่ใกล้คนฉลาดนั้น แม้จะอยู่ในนรกก็ดีกว่าอยู่ร่วมกับคนโง่บนสวรรค์เพราะคนฉลาดย่อมแสวงหาความสุขได้ แม้ในเรื่องเหตุการณ์ที่น่าจะทุกข์ มองในมุมกลับ คนโง่ย่อมประสบความทุกข์แม้ในเรื่องที่น่าจะสุข”
1. เสนอให้เปลี่ยนมุมมอง 2. สอนให้เลือกคบคน
3. แนะให้หาความสุข 4. เตือนให้รู้จักปรับตัว
อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ 22-23
“ ในระยะสั้นเศรษฐกิจไทยยังอยู่พื้นฐานของความอ่อนแอ และขาดความสามารถในการแข่งขันในระยะกลางตราบที่การปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนามนุษย์เป็นเกมการเมืองเพื่อหาคะแนนนิยมและแสงวหาอำนาจ”
22. ข้อใดเป็นสาระสำคัญของข้อความข้างต้น (ต.ค.45)
1. นักการเมืองสนใจปฏิรูปการศึกษาเพื่ออำนาจทางการเมือง
2. ประเทศไทยยังมีเศรษฐกิจและการศึกษาที่อ่อนแออยู่มาก
3. ประเทศไทยไม่สามารถแข่งขันด้านเศรษฐกิจและการศึกษาได้ในขณะนี้
4. เศรษฐกิจไทยจะยังไม่ดีขึ้นถ้าไม่มีการปฏิรูปการศึกษาอย่างจริงจัง
23. ข้อใดตรงกับทรรศนะของผู้เขียนข้อความข้างต้นมากที่สุด
1. การศึกษามีผงกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจทั้งระยะสั้นและระยะยาว
2. นักการเมืองไทยนึกถึงแต่ผลประโยชน์ของพรรคและของตน
3. ระบบเศรษฐกิจไทยยังคง มีปัญหาถ้าทุกคนยังเป็นเกมการเมือง
4. เศรษฐกิจและการศึกษาไทยในระยะยาวคงดีขึ้นแน่นอน
อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ 24-25
“แพทย์ไทยเห็นว่าเด็กไทยกำลังถูกโรคอ้วนรุมเร้าอันเป็นผลจากการกินอาหารฟาสต์ฟู้ด จึงทำการจัดการประกวดการลดน้ำหนักเพื่อขจัดความเสี่ยง เป็นการจูงใจคนทุกกวัยให้เห็นความสำคัญของการลดน้ำหนักมากกว่าที่จะปล่อยให้ตัวเองอ้วนอีกต่อไป
24. ข้อใดเป็นจุดประสงค์ของผู้เขียนข้อความข้างต้น (ต.ค.45)
1. เตือนว่าเด็กไทยกำลังมีปัญหาจากโรคอ้วน 2. ชี้ให้เห็นความสำคัญของการลดน้ำหนัก
3. ประชาสัมพันธ์การประกวดลดน้ำหนัก 4. บอกสาเหตุและการแก้ไขโรคอ้วนขอเด็กไทย
25. “ความเสี่ยง” ในข้อความข้างต้นหมายถึงอะไร
1. ความเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วน 2. ความเสี่ยงอันตรายอันเกิดจากความอ้วน
3. ความเสี่ยงอันตรายจากการลดน้ำหนัก 4..ความเสี่ยงจากการกินอาการฟาสฟู้ด
อ่านข้อความข้างต้นต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ 26-27
“ความคิดเชิงบวกเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้โลกน่าอยู่ รู้สึกว่าสถานการณ์ดีขึ้น ใจสู้พลังชีวิตสูง โรคที่รุมเร้าอยู่ก็ก็ถอยไป และเกิดภูมิต้านทานโรค”
26”ความคิดเชิงบวก” ในข้อความข้างต้นหมายถึงข้อใด (ต.ค.45)
1. การมองโลกชีวิตในแง่ดี 2. การมองโลกให้เป็นผลรวมของชีวิตที่ดี
3. การมองโลกที่รวมความรู้สึกที่ดีไว้ด้วย 4. การมองโลกมองชีวิตด้วยการเพิ่มความคิดเห็นส่วนตัว
27. ข้อใดไม่อาจอนุมานได้จากข้อความข้างต้น (ต.ค.45)
1..โลกหน้าอยู่หากใจกล้าสู้ชีวิต 2. มองโรคแง่ดี ชีวีจะกลอดโรค
3. พลังใจที่กล้าแก่รงคือพลังแรงสู้โรครา 4. อนาคตย่อมสดใส หากหัวใจไม่ยอมแพ้

อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ 28-29
“ชีวิตที่ดีไม่ว่าระดับไหนก็ตาม ถ้ามีการดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่าย ความสุขและความพอใจในชีวิตจะเกิดขึ้นได้ คนที่มีความเป็นอยู่เรียบง่าย ต้องมีพอต่อแก่ความจำเป็นแล้วหยุดอยู่ที่ตรงนั้น อยู่อย่างเรียบง่ายคือไม่เป็นภาระแก่ใคร ไม่เบียดเบียนผู้อื่นรวมทั้งตนเอง”
28. ข้อใดเป็นสารระสำคัญของข้อความข้างต้น (ต.ค.45)
1. การแสวงหาความสุขในการดำเนินชีวิต 2. ลักษณะการดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย
3. การรู้จักรการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข 4. การใช้หลักธรรมฝนการดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย
29. ข้อความข้างต้นไม่อาจอนุมานได้ว่าผู้เขียนเป็นคนเช่นไร (ต.ค.45)
1. มักน้อยและสมถะ 2. เชื่อมั่นในตนเอง
3. ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน 4. มีค่านิยมในการพึ่งตนเอง
30. ข้อใดเป็นแนวคิดของข้อความต่อไปนี้ (ต.ค.45)
“การบำรุงพ่อแม่ ไม่ต้องรอจนพ่อแม่แก่เฒ่า ลูกประพฤติตัวดี ไม่ทำให้พ่อแม่เดือดร้อนหนักใจตรงกันข้ามนำความปลื้มปิติมาสู่พ่อแม่ แค่นั้นก็ได้ถือว่าเป็นการบำรุงพ่อแม่ได้อย่างหนึ่งคือการบำรุงใจ”
1. ความภูมิใจของพ่อแม่ 2. ความรับผิดชอบของลูก
3. การตอบแทนพระคุณพ่อแม่ 3. การแสดงความเคารพรักบุพการี

สุนทรียภาพในวรรณคดี
1. คำประพันธ์ต่อไปนี้มีการเรียนเสียงกี่ข้อ (A-Net51)
1. นกเขาขันคู 2. พวกเราชวนเล่น ทำเสียงเหมือนกรน
3. กล้วยเลอะเกรอะกรัง กรงขังข้างบน 3. กรอบแกรบเสียงคน นานแล้วแกร่วคอย
1. 1 ข้อ 2. 2 ข้อ 3. 3 ข้อ 4. 4 ข้อ
2. ข้อใดมีการพรรณนาต่างกับข้ออื่น (A-Net51)
1. ลำดวนหวานหอมชื่น เหมือนรสรื่นนางรม 2. อังกราบกุหลาบแย้ม สอดสีแซมเมื่อแย้มบาน
3. ชงโคคิดคู่ชงฆ์ โฉมอนงค์นฤมล 4. อินทนิลกลิ่นตระการ เช่นเกสเจ้าเคล้าเสาวคนธ์
3. ข้อใดมีการสดุดีต่างจากข้ออื่น (A-Net51)
1. อัครศิลปินกรองศาสตร์กรองศิลป์การดนตรี
2. ตราบฟากฟ้าครึ้มฝนตกไม้ทุกต้นพลอยยินดี
3..เหล่าประชาคารวะสดุดีแผ่นดินนี้สุขด้วยองค์พระทรงชัย
4. บรรดาชาติชนชื่นใจถวายบังคมเทิดไท้ภูมิพลมหาราชา

4. “ในยามสงครามนั้นคุณธรรมทั้งเกราะป้องกันภัย เป็นกำลังสนับสนุนอันวิเศษ แอละบางครั้งก็เป็นอาวุธที่ทิ่มแทงศัตรูให้ย่อยยับได้
ข้อความข้างต้นมีภาพพจน์กี่แห่ง (A-Net51)
1. 1 แห่ง 2. 2 แห่ง 3. 3 แห่ง 4. 4 แห่ง
5. ข้อใดมีภาพพจน์ชนิดอุปลักษณ์ (A-Net51)
1. แลขี้ไคลใส่ตาบเป็นตาบคอ ผ้าห่มห่อหมากแห้งตาแบ่งมาน
2. มายากเย็นเห็นแต่ผ้าแพรดำ ได้ห่มกรำอยู่กับกลายไม่วายตรอม
3. อยู่บุรินกินสำราญทั้งหวานเปรี้ยว ตั่งแต่เที่ยวอยากไร้มาไพรศรี
4. เดินกันดารป่านปิ่มจะบรรลัย จึงมาได้เห็นหน้าบิดาตัว
6. คำว่า “ชาย” ในข้อใดมีความหมายใกล้เคียงกับ “เรือชายชมมิ่งไม้ มีพรรณ” (A-Net51)
1. ต้นกรายเหมือนนางกาย เดินหิ้วชายหมายตาชม
2. เห็นรักร่อนอ่อนหน้า ย่างเยื่องโชยชาย
3. ครวญนักรักโฉมฉาย พี่ชายห่างร้างแรมศรี
4. ขลิบทองย่องยงบาง เจ้าสะบัดชายกรีดกรายงาม
7. เอามีดคร่ำตำอกเข้าตำอัก เลือดทะลักหลามทะลุตลอดสัน
นางกระเดือกเสือกดิ้นสิ้นชีวี เลือดก็ดันดาดแดงดั่งแทงตาย
ข้อใดที่ไม่ปรากฏในคำประพันธ์ข้างต้น (A-Net51)
1. มโนภาพ 2. การเคลื่อนไหว 3. การเลียนเสียง 4. การกล่าวเกินจริง
8. คำประพันธ์ต่อไปนี้คำใดที่ไม่มีการเคลื่อนไหว (A-Net51)
ที่น้ำอันลับช่องมองเห็นพื้น ปลาน้อยน้อยลอยดื่นดูแหล่หลาย
พ่นน้ำเป็นละอองต้องแมงตาย ตกเรียกรายเป็นภักษาน่าเอ็นดู
1. วรรคที่ 1 2. วรรคที่ 2 3. วรรคที่ 3 4. วรรคที่ 4
9. คำประพันธ์ในข้อใดใช้ศิลปะการแต่งที่เรียกว่าการเล่นคำ
1. อุกคลุกพลบุกรุกรอน ไพรินทรนิกร 2. หึ่งหึ่งเสียงมธุกรอึง คู่เคี้ยเคียงคลึง
3. เค้าโมงคิดโมงนับ ลำดับได้กี่โมงยาม 4. ตามสมรคือสรยิงยรร ทรวงสองโหยหรรษ์
10 คำอธิบายในข้อใดสอดคล้องกับคำประพันธ์ต่อไปนี้ (A-Net51)
นางนวลจับนางนวลนอน เหมือนพี่แนบนวลสมรจินตะหรา
จากพรากจับจากจำนรรจา เหมือนจากยางสการะวาตี
แขกเต้าจับเต้าร่างร้อง เหมือนร่างห้องมาหยารัศมี
นกแก้วจับแก้วพาที เหมือนแก้วพี่ทั้งสามสั่งความมา
1. ใช้อุปมาและอุปลักษณ์ 2. เป็นบทพรรณนาที่แสดงบทนาฎการ
3. เป็นการแต่งทำนองนิราศ 4. ใช้ลีลาการแต่งประเภทนารีปราโมทย์
11. ความเปรียบต่อไปรี้หมายถึงใคร (A-Net51)
อุปมาเสมือนหนึ่งพฤกษาลบดาวัลย์ ย่อมอาสัญลงเพราะลูกเป็นแท้เที่ยง
1. นางมัทรีกับสองกุมาร 2. ท้าวดาหากับนางบุษบา
3. ท้าวกระหังกุหนิงกับวิหยาสะกำ 4. พระบิดาพระเวชสันดรกับพระเวชสันดร
12. คำประพันธ์ต่อไปนี้ใช้ลีลาการแต่งประเภทใด (A-Net51)
สงครามครานี้หนัก ใจเจ็บ ใจนา
เรียงเร่าแหนงหนาวเหน็บ อกโอ้
ลูกตายฤใครเก็บ ผีฝากพระเอย
ผีจักเท้งที่โพล้ ที่เพ้ลใครเผา
1. เสาวรจนี 2. นารีปราโมทย์ 3. พิโรธวาทัง 4. สัลปังคพิไสย
13. ข้อใดกล่าวถึงสัตว์ที่ต่างพวกจากข้ออื่น (A-Net51)
1. แขกเต้าเคล้าคู่เคียง 2. ห่างไก่ว่ายแหวงว่าย 3. สัตวาน่าเอ็นดู 4. โนรีสีปานชาด
14. จากคำประพันธ์ต่อไปนี้ผู้ใดพูดไม่ได้ถาม (O-Net51)
วงศ์ว่านเครือเนื้อหน่อ พงศ์เผ่าเหล่ากอเป็นไฉน
อยู่ประเทศธานีบุรีใด ทำไมจึงแก้งแปลงปลอมมา
1. บ้านเดิมอยู่ที่ใด 2. พ่อแม่สบายดีหรือ
3. เป็นลูกเต้าเหล่าใคร 4. มาที่นี้ทำไม

15. ข้อใดไม่อาจอนุมานได้เกี่ยวกับบุคคลในคำประพันธ์ต่อไปนี้ (O-Net51)
ไร้ฟูกถูกเนื้อวันทองอ่อน เหมือนนอนเตียงทองวันผ่องใส
เพลินฟังวังเวงเพลงไร พิณพาทย์ไพรกล่อมทองอันผ่องใส
1..คิดถึงบ้าน 2. อยู่กลางป่า 3. มีความสุข 4. อยู่อย่างลำบาก
16. ข้อใดมีคำอัพภาส O-Net51
1. เหมือนหนึ่งน้ำพลอยพร้อยอยู่พรายพราย 2. พระพารำเลยพัดมารีเรื่อยอยู่เฉื่อยฉิว
3. พระทัยนางให้หวั่นหวาดพะวงหลัง 4. ยะเหยาะเหย่าทุกผีย่างไมหย่อนหยุด
17. ข้อใดเรียนเสียงพยัญชนะเด่นชัดที่สุด (O-Net51)
1. ความรักยักเปลี่ยนท่า ทำน้ำยาอย่างแกงขม 2. เห็นหรุ่มรุมมรวงเศร้า รุ่มรุ่มเร้าคือไฟฟอน
3. คิดความยามถนอม สนิทเนื้อเจือเสาวคนธ์ 4. รสทิพย์หยิบมาโปรย ฤาจักเปรียบเทียบทันขวัญ
18. ข้อใดเป็นลักษณะที่เด่นที่สุดของคำประพันธ์ต่อไปนี้ (O-Net51)
โลกนี้มิได้อยู่ ด้วยมณี เดียวนา
ทรายและสิ่งอื่นมี ส่วนสร้าง
ปวงธาตุต่ำกว่าดี ดุลยภาพ
ภาคจักรพาลมีร้าง เพราะน้ำแร้งไหน
1. โวหารโลดโผน 2. ความหมายลึกซึ้งชวนให้คิด
3. การสรรคำสื่อภาพได้ชัดเจน 3. เสียงสัมผัสสระและพยัญชนะที่ไพเราะ
19. ข้อใดกวีใช้กลวิธีพรรณนาต่างกับข้ออื่น (O-Net51)
1. อิ่มทุกข์อิ่มชลนา อิ่มโศกาหน้าน้องชล 2. กระถินกลิ่นหอมกาย เช่นน้ำอบสุดามาลย์
3. ตัวเดียวมาพัดคู่ เหมือนพี่อยู่ผู้เดียวดาย 4. กระแหแหห่างชาย ดั่งสายสวาทคลาดจากสม
20. ข้อใดไม่แสดงจินตภาพการเคลื่อนไหว (O-Net51)
1. อุกคลุกพลุกเงยงัด คอคช เศิกแฮ 2. บัดราชฟาดแสงพล พ่ยฟ้อน
3. สารทรงราชรามัญ ลงล่าง แลนา 4. หน่อนเรนทรพิศ ตกดาว
21. ข้อใดไม่แสดงจินตภาพการเคลื่อนไหว (O-Net51)
1. ค้อนทองเสียงร้องป๋องเป๋ง เพลินฟังวังเวง
อีเก้งเริงร้องลองเชิง
2. ป่าสูงยูงยางช้างโขลง อึงคะนึงผึ่งโผง
โยงกันเล่นน้ำคล่ำไป
3. ไกรกรายยางยูงสู่ระหง ตลิงปลิงปลิงประยงค์
คันทรงส่งกลิ่นฝิ่นฝาง
4. ลิงค่างครางโคกครอก ฝูงจิ่งจอกออกเห่าหอน
ชะนิวิเวกวอน นกหกร่อนนอนรังเรียง
22. บทประพันธ์ต่อไปนี้สื่ออารมณ์ความรู้สึกใดของกวี (O-Net51)
ฤดูใดก็ได้เล่นเกษมสุข แสนสนุกทั่วเมืองหรรษา
ตั่งแต่นี้แลหน้าอกอา อยุธยาจะสาบสูญไป
จะหาไหนได้เหมือนกรุงแล้ว ดังดวงแก้วอันสิ้นแสงใส
นับวันแต่จะยับนับไป ที่ไหนจะคืนคงมา
1. ว้าวุ่น 2. คับแค้น 3. ร้อนรน 4. หดหู่
23. ข้อใดไม่ใช่ภาพพจน์ (O-Net51)
1. นี่จนใจไม่มีเท่าขี้เล็บ ขี้เกียจเก็บเลยทางมากลางหน
2. ถึงห้วยโป่งเห็นธารละหารไหล คาคงใสปลาว่ายคล้ายคล้ายเห็น
3. เสียงสินธุดุดั้นลั่นพึลึก สะท้านสะทึกถมฟาดฉาดฉาดฉาน
4. เหมือนนกฟ้องดวงจันทร์ให้ผันดู คนมาสู่ซ่องพักมันรักษา
อ่านคำประพันธ์ต่อไปนี้แล้วตอบคำถามหน้า 24-25 (O-Net51)
(1) เป็นกลุ่มกลุ่มกลุ้มกายเหมือนทรายซัด ต้องนั่งปัดแปะไปมิได้นอน
(2) ครั้นยามเย็นเห็นเหมือนหนึ่งเมฆ เป็นควันฟุ้งราวกับไฟไกลหนักหนา
(3) เสียงสินธุดุดั้นลั่นพิลึก สะท้านสะทึกโถมฟาดฉานฉานฉาด
(4) เราเป็นมนุษย์สุดรักต้องลักพา เหมือนอินทราตรึงส์เป็นไรมี
24. ข้อใดใช้ภาพพจน์ชนิดอุปลักษณ์
1. ข้อ 1 2. ข้อ 2 3. ข้อ 3 4. ข้อ 4
25. ข้อใดไม่ใช้ภาพพจน์อุปลักษณ์
1. ข้อ 1 2. ข้อ 2 3. ข้อ 3 4. ข้อ 4
26. คำประพันธ์ต่อไปนี้ข้อใดมีวิธีการพรรณนาต่างจากข้ออื่น (ต.ค.43)
1. พื้นลังหลัวบัวที่ฐานบัทม์ เป็นครุฑอัดยืนเหยียบภุชงค์ขยำ
2. หยิกขยุ้มกุมวาสุกรีกำ กินนรรำร่ายเทพประนมกร
3. ใบระกาหน้าบันบนชั่นมุก สุวรรณสุขเลื่อมแก้วประภัสสร
. ดูยอดเยี่ยมเทียมยอดยุคนธร กระจังซ้อนแซมในระกาบัง
27. คำประพันธ์ต่อไปนี้ใช้ภาพพจน์ตามข้อใด (ต.ค.43)
“ ฉันมองคลื่นรื่นเร่เข้าเห่ฝั่ง พร่ำฝากฝังภัคดีไม่มีสอง
มองดาวเฟี้ยมเยี่ยมพักตร์ลักษณ์ลำยอง จากคันฉ่องชลาลัยใสสะอาด
1. บุคคลวัตและอุปลักษณ์ 2. สัญลักษณ์และอติพจน์
3. บุคคลวัตและสัญลักษณ์ 4. อุปลักษณ์และอติพจน์
28. การพรรณนาเสียงในข้อใดให้อารมณ์ต่างจากข้ออื่น (ต.ค.43)
1. เสียงสกุนราร้องก้องกึกให้หวั่นหวาด
2. เสียงชะนีร้องอยู่โหวยโวยโวย่วิเวกวะหวามมอก
3. ทั้งพญาคชสารชาติฉัททันต์ทะลึ่งถลันร้องวะแหวะๆ
4. ทั้งพญาพาฬมฤคราชเสือโคร่งคะครางครึ้มกระหึมเสียง
29. ข้อใดไม่ใช่ภาพพจน์แบบบุคคลวัต (มี.ค.46)
1. เมฆไหลลงห่มเงื้อม ผาชะโงก 2. งามม่านเงาไม้โสก ซับซ้อน
3. ดอกหญ้าป่าลมโบก ผวาช่อ 4. ซ่าซ่าธาราฉะอ้อน เร่งร้อนระหายฝัน
30. ข้อใดมีการใช้ภาพพจน์ (มี.ค.46)
1. คันนานต์นฤราสร้าง ราคิน
คือระเบียบรัตนอินทนิล คาดไว้
2. พระพึงพิเคราะห์ผู้ ภัคดี ท่านนา
คือพระยาจักรี กาจแกล้ว
3. เกรงกระรัดก่อรังค์ รั่วหล้า
คือใครจักคุ้มคง ควรคู่ เข็ญเฮย
4. เพื่อพระเดโชชนะ ศึกน้ำ
คือองค์อมิตรพระ จักรมอด เมือเฮย
31. ข้อใดมีการใช้ภาพพจน์ต่างจากข้ออื่น (มี.ค.46)
1. คิดคะนึงถึงนงราม ผิวเหลืองกว่าจำปาทอง
2. นวลจันทร์เป็นนวลจริง เจ้างามพริ้งยิ่งนวลปลา
3. ดูปราสาทราชวังเป็นลังกา ดังป่าช้าพงชัฏสงัดคน
4. โอ้น้ำใจในอุราทารกรรม เหมือนน้ำดำอยู่ในกนองเป็นฟองคราม
32. ข้อใดใช้ภาพพจน์มากที่สุด (มี.ค.46)
1. ไร้ฟูกถูกเนื้อวันทองอ่อน เหมือนนอนเตียงทองอันผ่องใส
เพลินฟังเพลงวังเวงเรไร พิณพาทย์ไพรกล่อมขบสำหรับดง
2. บัดนี้เห็นท่วงที่กิริยาเจ้าก็เปลี่ยนแปลก เล่ห์ประหนึ่งพึ่งพาเป็นแขกไม่ค้นเคย
ไฉนจึงแกลงนิ่งเฉยให้เหินห่างเหมือนผู้อื่นฉะนี้
3. พันลึกล่มลั่นฟ้า เฉกอสุนีผ่าหล้า
แห่ลงเพี้ยงพกพัง แลนา
4. ดาวระยับประดับฟ้าเพลานี้ เพชรราตรีส่องสกาว ณ หาวหน
ประชันแสงวะวับวาวพราวสกนธ์ มิแผกคนแข่งค่าบารมี

33. ข้อใดใช้กลวีการแต่งตางจากข้ออื่น (มี.ค.46)
1. เปรียบแรงคชสารปานกลจักร ผ่าผลักชักลากราวหยากไย่
2. ใหญ่เทียมภูผาท่าดุดัน เรี่ยวแรงแข็งขยันเชื่อควาญตน
3. งางอนอ่อนช้อยทุกรอยลึก ดูประหนึ่งกรกรายนางร่ายรำ
4. เหมือนมีชีวิตสติราง ซุงแกะเป็นช้างย่างบาดได้
34. ข้อใดมีกลวิธีการใช้คำต่างจากข้ออื่น (มี.ค.46)
1. ปลาทุกทุกข์อกกรม เหมือนทุกข์ที่พี่จากนาง
2. อิ่มทุกข์อิ่มชลนา อิ่มโศกกาหน้าอกชล
3. เสียงสรวลระรี่นี้ เสียแก้วพี่หรือเสียงใคร
4. หนาวพรมน้ำค้างพราว หนาวซอกผาศิลาเย็น
35. ข้อใดพรรณนาภาพเคลื่อนไหวได้ชัดเจนที่สุด (มี.ค.46)
1. บเห็นท่าต่อรบ รู้ว่าทบบทมิทาน รู้ว่าราญบมิรอด คิดเททอดครัวแตก แหกหนวีหน้าอย่างพระ
2. เขาก็มละบ้านเมือง เปลืองเปล่าผู้หมู่ชน ชวนกันซนกันซุก บุกป่าดงป่าแดง แฝงเอาเหตุเอาผล
3. ขับทวยกล้าเข้าแทง ขับทวยแข็งเข้าฟัน สองฝ่ายยันยืนยุทธ์ อดอึงโห่เอาฤกษ์ เอิกอึงโห่เอาชัย
4. พุ่งหอกใหญ่คะคว้าง ขว้างหอกซัดคะไขว่ ไล่คะคลุกบุกบัน เงื้อดาบฟันฉะฉาน ง่าง้าวฟาดฉะฉับ
36. ข้อใดใช้อุปลักษณ์ (มี.ค.47)
1. เห็นแจ้ง ณ สี่องค์ พระอริยสัจอัน
อาจนำมนุษย์ผัน ติระข้ามทะเลวน
2. ย่อมช้าลักษณะตระการ ใช้ช้างสามัญ
คืออัษฎมงคงศรี
3. ถืออาวุธศาสตราเป็นท่ารำ ล้วนต่างๆวางประจำอยู่เรียงราย
4. น้องฝันว่าได้เอื้อมถึงอากาศ ประกลาดเด็ดสุริยาลงมาล่าง
37. คำประพันธ์ต่อไปนี้มีภาพพจน์ตามข้อใด (มี.ค.47)
“วางรากศิลารัก สกัดด้วยดวงชีวัน
ขอเพียงเราอยู่คู่กัน ผูกพันตราบสิ้นดินฟ้า
1. อุปลักษณ์ อติพจน์ 2. บุคคลวัต อติพจน์ 3. อุปมา อุปลักษณ์ 4. อุปลักษณ์ บุคคลวัต
38. ข้อใดมีภาพพจน์มากที่สุด (มี.ค.47)
1. มองซิมองทะเล เห็นลมคลื่นเห่จูบหิน บางครั้งมันบ้าบิ่น กระแทรกหินดังครืนๆ
2. ทะเลไม่เคยหลับใหล ใครตอบได้ไหม ไฉนจึงตื่นและสะอื้นอยู่ล่ำไป
3. ยามหลับใหลชั่วคืน ก็ถูกคลื่นฝันปลุกฉันรัญจวน ฉันจึงเรรวน มิเคยจะหลับไปกลับทะเล
4. ทะเลหัวใจของเรามีรักอยู่ภายใน ดูซิเป็นไปได้ จิตใจเหมือนดังทะเลครวญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น